การดูแลผู้ป่วยพากินสัน หมั่นให้ผู้ป่วยทำกายภาพบำบัด เพื่อฝึกการทรงตัว โดยการฝึกเดินให้ได้มากที่สุด หากผู้ป่วยมีอาการเดินลำบากสามารถใช้ไม้เท้าช่วยพยุงตัวได้ กรณีดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องระวังการป้อนอาหาร ควรป้อนคำเล็ก ๆ ช้า ๆ เพราะผู้ป่วยอาจเกิดอาการสำลักอาหารและอาจส่งผลให้ติดเชื้อได้ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ พัทยา ซีเนียร์โฮม เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยพากินสัน
“พาร์กินสัน” เป็นอาการป่วยที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ที่เป็น โดยจะมีอาการสั่นตลอดเวลาทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก ที่สำคัญโรคนี้เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายได้ และต้องได้รับความเข้าใจจากคนรอบข้าง จึงมีการรณรงค์เกี่ยวกับโรคพาร์กินสันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คนในสังคมทำความเข้าใจ ทั้งนี้ในส่วนของคนรอบข้างยังต้องมีวิธีการดูแลที่ถูกต้องเหมาะสมด้วย จึงจะเป็นผลดีต่อตัวผู้ป่วยเอง
พาร์กินสัน คืออะไร
เป็นโรคที่เกิดจากการมีสารสื่อประสาทที่ชื่อว่า Dopamine ของเซลล์ประสาทที่มีจำนวนน้อยกว่าคนปกติ ส่งผลให้มีการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ มักพบในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ แต่สามารถพบในวัยกลางคนได้เช่นกัน
อาการของโรคพาร์กินสัน
อาการของโรคพาร์กินสัน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ๆ คือ อาการสั่นที่ควบคุมตนเองไม่ได้ มีอาการเกร็ง เคลื่อนไหวช้า ทรงตัวได้ไม่ดี นอกจากนี้ยังอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น ก้าวสั้นแต่ก้าวถี่ หน้านิ่ง หน้าตาไม่แสดงความรู้สึก เขียนหนังสือตัวเล็กลง เป็นต้น
พาร์กินสัน เกิดจากอะไร
สาเหตุของโรคพาร์กินสัน ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการวิจัยที่ผ่านมาพบว่าปัจจัยทางพันธุกรรมมีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคพาร์กินสัน นอกจากนี้ยังมีเรื่องของปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ เช่น การสัมผัสโลหะหนัก (แมงกานีส, ทองแดง) โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในเขตอุตสาหกรรม
การรักษาโรคพาร์กินสัน
ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ช่วยบรรเทาอาการไม่ให้แย่ลง โดยที่โรคพาร์กินสันจะมีความก้าวหน้าของโรคไปเรื่อย ๆ การรักษาสามารถรักษาด้วยยา และ/หรือ การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นสมองส่วนลึก เพื่อลดอาการสั่น แต่การผ่าตัดอาจมีข้อจำกัดซึ่งอาจไม่สามารถทำได้กับผู้ป่วยทุกราย อาการแสดงของผู้ป่วยแต่ละรายจะแตกต่างกันออกไป ในผู้ป่วยที่มีความก้าวหน้าของโรคดำเนินไป อาการจะดำเนินจากระดับเป็นเล็กน้อยไปจนถึงระดับรุนแรง เช่น จากที่เคยเดินได้กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง เป็นต้น ในช่วงที่ระยะแรกของโรคพาร์กินสัน การช่วยบริหารร่างกายจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วย
การดูแลผู้ป่วยพาร์กินสัน
- คนรอบข้างควรช่วยผู้ป่วยในการบริหารร่างกาย ป้องกันการเกิดข้อยึดติด เช่น การแกว่งแขวน การเดินก้าวเท้ายาว ยกเท้าสูงขึ้น
- แนะนำการบริหารลูกตาด้วยการกลอกลูกตาไปมา โดยการดูกีฬาที่มีการโต้ตอบไปมา เช่น เทนนิส ปิงปอง เป็นต้น
- ในระยะแรก หากผู้ป่วยยังสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เช่น การปั่นจักรยาน ก็อาจให้ผู้ป่วยทำกิจกรรมดังกล่าวได้
- ระวังเรื่องอุบัติเหตุ ปัญหาการกลืน การพูด
- ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีกากใย เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
- ผู้ดูแลต้องทำความเข้าใจผู้ป่วยและดูแลสภาพจิตใจอยู่เสมอ เนื่องจากในผู้ป่วยบางรายอาจมีปัญหาการนอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือซึมเศร้า
- ทำกายภาพบำบัดเป็นประจำ เพื่อช่วยลดอาการแข็งเกร็งป้องกันการยึดติดของอวัยวะต่างๆ
- บริหารดวงตาด้วยการฝึกการกรอกตาด้วยการดูกีฬาที่มีการโต้ตอบไปมา เช่น เทนนิส ปิงปอง เป็นต้น
- ผู้ป่วยในระยะที่ 5 เมื่อผู้ป่วยมีอาการแข็งเกร็งจนไม่สามารถขยับร่างกายได้เองจนกลายเป็นผู่ป่วยติดเตียง จำเป็นต้องระวังการกลืนหรือพูดเพราะอาจเกิดการสำลักได้
- ควรดูแลโภชณาการของผู้ป่วย เพิ่มกากใยในอาหาร ลดอาการท้องผูก
- หมั่นทำความเข้าใจ และดูแลสภาพจิตใจของผู้ป่วยสม่ำเสมอ เพราะบางรายอาจมีอาการซึมเศร้าเนื่องจากรู้สึกเป็นภาระ และหมดคุณค่าได้
- ผู้ป่วยในระยะเริ่มแรก ควรหมั่นออกกำลังกายที่มีการเคลื่อนไหวอย่างยืดหยุ่น เพื่อลดอาการแข็งเกร็ง และชะลอการยึดติดของอวัยวะต่างๆ โรคพากินสัน นับว่าเป็นโรคที่มีความละเอียดอ่อน ทั้งต่อร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างแต่ก่อน ผู้ป่วยอาจเกิดความท้อแท้ เพราะเป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาได้ แต่เราฟื้นฟู และชะลออาการให้การลุกลามของโรคดำเนินช้าลงได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่สามารถสังเกตและพบได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก
ข้อดีของการมีผู้ดูแล
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ พัทยา ซีเนียร์โฮม เรามีกายภาพบำบัดพื้นฐานทุกโปรแกรมการดูแล และมีเจ้าหน้าที่เฉพาะทางคอยประเมิณและแนะนำตำแหน่งเฉพาะที่ให้ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ให้เราเป็น “บ้าน” ที่คอยดูแล ฟื้นฟูทั้งร่างกายและจิตใจด้วยความอบอุ่น ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ พัทยา ซีเนียร์โฮม อยู่ใน พัทยา ชลบุรี
- ลดการเกิดอุบัติเหตุด้วยเจ้าหน้าที่คอยดูแลช่วยเหลือในการทำกิจวัตรประจำวัน ตลอด 24 ชม.
- ท่ามกลางบรรยากาศร่มรื่น อบอุ่น เหมือนลูกหลานดูแลอยู่ที่บ้าน
- มีเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ คอยประเมินอาการ ภาวะเสี่ยงต่างๆ หลังเข้ารับการผ่าตัด ให้ได้รับความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที
- เราดูแลเรื่องอาหารให้เป็นรายบุคคล เพราะเราทราบดีว่า สารอาหารแต่ละโรค ของแต่ละคนนั้น ต้องการการฟื้นฟูที่แตกต่างกัน เราจึงพิถีพิถันในด้านอาหารการกินให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนเหมาะสม