ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พัทยา ซีเนียร์ โฮม ในปัจุจุบันพบว่าผู้ป่วยและผู้สูงอายุที่เผชิญภาวะโรคอัลไซเมอร์ หรือโรคสมองเสื่อม มีจำนวนเพิ่มสูงขี้น และสาเหตุหนึ่งที่เกิดจากสภาวะโรคดังกล่าวคือภาวะสมองเสื่อมตามช่วงอายุที่มากขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ จากสถิติแสดงให้เห็นว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีอัตตราเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะสมองเสื่อม คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีอายุระหว่าง 60 – 80 ปี
ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พัทยา ซีเนียร์ โฮม ชลบุรี บ้านพักและสถานที่ดูแลผู้ป่วย ความจำเสื่อม หรือหรือผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ยืดอายุของสมองผู้สูงอายุให้ได้ยาวนานที่สุดและส่งเสริมให้สามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง ที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ พัทยา ซีเนียร์ โฮม เราดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุไทยที่มีภาวะสมองเสื่อม และผู้สูงอายุที่ประสบภาวะถดถอยทางร่างกายแต่ละท่าน ให้ผู้สูงอายุทุกท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้นกว่าเดิม
ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ พัทยา ดูแลผู้สูงอายุความจำเสื่อม อัลไซเมอร์ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พัทยา ซีเนียร์ โฮม มีแนวคิดในการดูแลผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี ให้ท่านมีชีวิตที่สุขสบายเหมือนอยู่บ้าน ขณะที่มาพักกับเรา โดยจะส่งเสริมให้ท่านมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ที่ ศูนย์ของเรา พยายามให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจวัตรประวัตรประจำวันเองให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้เกิดความภาคภูมิใจในตัวเอง และมีกำลังใจในการดำเนินชีวิต
ภาวะสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ มีอาการแบบไหน รักษาได้หรือไม่ จากงานวิจัยพบว่า โดยปกติแล้วเมื่ออายุ 60 ปี สมองของคนเรามักจะถดถอยตามวัย โดยเฉพาะในกลุ่มของผู้ป่วยอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ถดถอยขึ้นทุกวัน เราจึงต้องเน้นการส่งเสริมพัฒนาการของผู้มีภาวะอัลไซเมอร์หรือสมองเสื่อมโดยการทำกิจกรรมต่างๆ ด้วยตนเอง แนวทางที่เราใช้ในการดูแลผู้สูงอายุ
- เข้าใจการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม
- สร้างแรงจูงใจและความภาคภูมิใจในตนเอง
- กิจกรรมบำบัด
- ดูแลด้านโภชนาการรายบุคคล
- ให้ความสำคัญเรื่องสุขอนามัย
อัลไซเมอร์คืออะไร?
อัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Disease) หรือโรคความจำเสื่อมเป็นภาวะความบกพร่องของการทำหน้าที่ของสมอง ส่งผลให้สมรรถภาพสมองของผู้ป่วยเสื่อมถอยโดยเฉพาะในเรื่องความคิด ความจำ ความรอบรู้ การใช้ภาษา การตัดสินใจ และการใช้เหตุผล ตลอดจนส่งผลให้บุคลิกภาพและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไป ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกลุ่มโปรแกรมดูแลผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65-80 ปีจะมีแนวโน้มการเกิดโรคนี้มากขึ้น ซึ่งจากผลงานวิจัยของ ดร. ลักษณา อินทร์กลับ รองศาสตราจารย์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน ในหัวข้อ เข้าใจและเข้าถึงผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พบว่า ความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นตามอายุ ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มเป็นเมื่ออายุมากกว่า 65 ปี และจะพบอัตราการเป็นโรคอัลไซเมอร์เพิ่มขึ้นเท่าตัว เมื่ออายุเพิ่มขึ้นทุก 5 ปี ผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 85 ปี จะพบอัตราการเป็นอัลไซเมอร์ถึงร้อยละ 50 เลยทีเดียว
สาเหตุของโรคอัลไซเมอร์
ศ. นพ. วีรศักดิ์ เมืองไพศาล อาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม สาขาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ศึกษาวิจัยและตีพิมพ์บทความวารสาร ในหัวข้อรับมือ…ภาวะสมองเสื่อม ในปี 2556 ซึ่งผลการวิจัยพบว่า สาเหตุของการเกิดภาวะสมองเสื่อมนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายประการ อาทิ อายุที่เพิ่มขึ้น พันธุกรรม ผู้ป่วยโรคดาวน์ซินโดรม ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่ศีรษะหรืออุบัติเหตุทางสมอง รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน โรคซึมเศร้า โรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น ระยะของโรคอัลไซเมอร์
อาการของโรคอัลไซเมอร์
การดำเนินโรคอัลไซเมอร์แบ่งออกเป็น 4 ระยะ โดยมีแบบรูปความเสื่อมของการรู้และหน้าที่แบบลุกลาม
ระยะก่อนสมองเสื่อม
อาการแรกสุดมักเข้าใจผิดว่าเกิดขึ้นเองจากการเปลี่ยนตามวัย หรือเกิดจากภาวะเครียด การทดสอบทางจิตประสาทวิทยาอย่างละเอียดอาจแสดงความบกพร่องทางการรู้เล็กน้อย ซึ่งอาจพบได้ 8 ปีก่อนผู้ป่วยครบตามเกณฑ์ทางคลินิกสำหรับการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์ อาการเริ่มแรกจะมีผลกระทบต่อความสามารถในกิจวัตรประจำวันที่ซับซ้อนส่วนใหญ่ ความบกพร่องที่เห็นชัดมากที่สุดคือการเสียความจำระยะสั้น ซึ่งปรากฏเป็นการจำข้อเท็จจริงที่เพิ่งรู้มาหมาด ๆ ได้ยาก และไม่สามารถรับสารสนเทศใหม่ได้ ปัญหาที่ตรวจจับได้ยากเกี่ยวกับหน้าที่การบริหารจัดการ อาทิความใส่ใจ, การวางแผน, ความยืดหยุ่น และความคิดเชิงนามธรรม หรือความบกพร่องของความจำเชิงอรรถศาสตร์ (การจำความหมายและความสัมพันธ์เชิงแนวคิด) อาจปรากฏอาการได้ในโรคอัลไซเมอร์ระยะแรก
อาจพบภาวะไร้อารมณ์ได้ในระยะนี้และจะเป็นอาการทางจิตประสาทที่คงอยู่มากที่สุดตลอดระยะการดำเนินโรค อาการโรคซึมเศร้า ความหงุดหงิดและการรับรู้ความลำบากในการจำที่ตรวจจับได้ยากก็พบได้บ่อย ระยะก่อนคลินิกของโรคยังเรียกอีกอย่างว่า “ความบกพร่องทางการรู้เล็กน้อย” (MCI) ซักมักพบว่าเป็นระยะเปลี่ยนผ่านระหว่างการเปลี่ยนตามวัยปกติกับภาวะสมองเสื่อม MCI อาจปรากฏอาการได้หลากหลาย และเมื่อการเสียความจำเป็นอาการเด่น จึงเรียกว่า “MCI ความจำเสื่อม” และมักพบว่าเป็นระยะบอกล่วงหน้าโรคอัลไซเมอร์
สมองเสื่อมระยะแรก
ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะมีความบกพร่องของความจำและการเรียนรู้มากขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถวินิจฉัยอย่างแน่นอนได้ ผู้ป่วยจำนวนน้อยมีอาการบกพร่องทางภาษา หน้าที่การบริหาร การกำหนดรู้ (ภาวะเสียการระลึกรู้) หรือภาวะเสียการรู้ปฏิบัติเด่นกว่าปัญหาด้านความจำ โรคอัลไซเมอร์ไม่มีผลกระทบต่อความสามารถด้านความจำทั้งหมดเท่า ๆ กัน โดยความทรงจำระยะยาวของชีวิตผู้ป่วย (ความจำเชิงเหตุการณ์) ข้อเท็จจริงที่เรียนมา (ความจำเชิงอรรถศาสตร์) และความจำโดยปริยาย (implicit memory) คือ ความจำของร่างกายว่าทำสิ่งต่าง ๆ อย่างไร เช่น การใช้ช้อนส้อมรับประทานอาหาร) ล้วนได้รับผลกระทบน้อยกว่าความจำหรือความรู้ใหม่
ปัญหาทางภาษามีลักษณะเด่นคือการรวบคำให้สั้นและพูดหรือใช้ศัพท์ไม่ฉะฉานเหมือนเดิม ซึ่งทำให้ใช้ภาษาพูดหรือเขียนน้อยลง ในระยะนี้ปกติผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ยังสามารถสื่อสารความคิดพื้นฐานได้เพียงพอ
เมื่อผู้ป่วยมีการกล้ามเนื้อมัดเล็ก เช่น การเขียน วาดภาพ หรือแต่งกาย อาจพบความบกพร่องของการประสานการเคลื่อนไหวและการวางแผน (ภาวะเสียการรู้ปฏิบัติ) บ้าง แต่โดยทั่วไปยังจับไม่ได้
เมื่อโรคดำเนินต่อไปผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มักสามารถทำงานหลายอย่างได้ด้วยตัวเองแต่อาจต้องได้รับการช่วยเหลือหรือการกำกับสำหรับกิจกรรมที่ต้องอาศัยกระบวนการรู้อย่างมาก
สมองเสื่อมระยะปานกลาง
ในระยะนี้สมองจะเสื่อมลงเรื่อย ๆ จนสุดท้ายไม่สามารถพึ่งตนเองได้ โดยไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันส่วนใหญ่ได้ อาการพูดลำบากจะชัดเจนเพราะไม่สามารถนึกคำศัพท์ได้ ทำให้ใช้ศัพท์ผิดหรือใช้คำอื่นมาแทน (paraphasia) บ่อย ผู้ป่วยค่อย ๆ เสียทักษะการอ่านและการเขียนมากขึ้น[
ลำดับการเคลื่อนไหวที่ซับซ้อนจะมีการประสานงานลดลงเรื่อย ๆ ตามการลุกลามของโรคอัลไซเมอร์ ทำให้ความเสี่ยงต่อการหกล้มเพิ่มขึ้นไปด้วย ในระยะนี้ปัญหาความจำของผู้ป่วยจะเลวลง และผู้ป่วยอาจจำไม่ได้แม้แต่ญาติสนิทของตนเอง ความทรงจำระยะยาวซึ่งแต่เดิมยังปกติอยู่ ก็บกพร่อง
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและจิตประสาทวิทยาพบมากขึ้น อาการแสดงทั่วไปได้แก่ การหนีออกจากบ้าน ความหงุดหงิดและไม่ล่องตัว ทำให้ร้องไห้ มีความก้าวร้าวอย่างไม่คาดคิดฉับพลัน หรือดื้อกับผู้ดูแล อาการสับสนหรือเห็นภาพหลอนในเวลากลางคืน (sundowning) ก็มีได้ ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ประมาณ 30% มีอาการเชื่อว่าบุคคล สิ่งของ หรือสถานที่เปลี่ยนแปลงไป (เรียกว่า Delusional misidentification syndrome)
และอาจมีอาการหลงผิดอย่างอื่น ผู้ป่วยอาจเสียวิจารณญาณต่อกระบวนการและข้อจำกัดของโรค (ภาวะเสียสำนึกความพิการ) อาจกลั้นปัสสาวะไม่ได้ อาการเหล่านี้ทำให้เกิดความเครียดต่อผู้ดูแลและญาติ ซึ่งอาจลดความเครียดดังกล่าวโดยการย้ายผู้ป่วยจากบ้านไปยังถานดูแลระยะยาวอื่น
สมองเสื่อมระยะสุดท้าย
ในระยะสุดท้าย ผู้ป่วยต้องพึ่งพาผู้ดูแลตลอดเวลา ทักษะทางภาษาของผู้ป่วยลดลงเหลือวลีง่าย ๆ หรือคำเดี่ยว ๆ จนสุดท้ายไม่สามารถพูดได้โดยสิ้นเชิง แม้ว่าผู้ป่วยเสียความสามารถด้านภาษาพูด แต่ยังมักเข้าใจและตอบสนองกลับมาด้วยการแสดงอารมณ์ แม้ผู้ป่วยยังมีลักษณะก้าวร้าว แต่ภาวะไร้อารมณ์สุดขั้วและอ่อนเพลียเป็นอาการที่พบมากกว่า
ในที่สุดผู้ป่วยจะไม่สามารถทำกิจกรรมใดได้เลยแม้เป็นกิจกรรมง่ายที่สุดหากขาดผู้ช่วยเหลือ มวลกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวร่างกายลดลงจนผู้ป่วยติดเตียง และไม่สามารถป้อนอาหารด้วยตนเองได้ ปกติสาเหตุการเสียชีวิตเป็นปัจจัยภายนอก เช่น แผลกดทับติดเชื้อหรือโรคปอดบวม ไม่ใช่เสียชีวิตจากโรคอัลไซเมอร์โดยตรง
ผู้ป่วยจะสูญเสียความทรงจำในระยะสั้นและยาว หลงผิด เกิดภาพหลอน ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเองจึงต้องพึ่งพาและได้รับการดูแลตลอดเวลา โดยอาการหลงลืมจะรุนแรง ลืมแม้กระทั่งการเคลื่อนไหวในชีวิตประจำวัน ลืมวิธีรับประทานอาหาร ลืมวิธีการพูดสื่อสารจนไม่สามารถพูดคุยได้ แต่แม้ผู้ป่วยจะไม่สามารถโต้ตอบเป็นภาษาได้ แต่ก็ยังคงสามารถเข้าใจคำพูดได้โดยการตอบสนองกลับด้วยการแสดงอารมณ์ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการภาวะไร้อารมณ์และมีอาการอ่อนเพลีย มวลกล้ามเนื้อลดลงจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้จนสุดท้ายกลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง
การป้องกัน
ไม่มีหลักฐานชี้ชัดสนับสนุนว่ามีวิธีหนึ่งวิธีใดที่สามารถป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างมีผล การศึกษาทั่วโลกว่าด้วยมาตรการป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์มักให้ผลขัดแย้งกัน การศึกษาทางวิทยาการระบาดเสนอว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่สามารถแก้ไขได้อย่างอย่าง เช่น อาหาร ความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม หรือกิจกรรมทางสติปัญญา เป็นต้น กับโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์ในประชากร แต่ยังต้องมีการวิจัยตลอดจนการทดลองทางคลินิกเพิ่มเติมเพื่อหาคำตอบว่าปัจจัยเหล่านี้สามารถช่วยลดโรคอัลไซเมอร์ได้หรือไม่
การดำรงชีวิตประจำวัน
ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ ต้องได้รับการดูแลด้าน ทักษะทางสติปัญญา เช่น อ่านหนังสือ เล่นหมากล้อม เล่น ปริศนาอักษรไขว้ เล่นดนตรี หรือมีปฏิสัมพันธ์และกิจกรรมทางสังคมเป็นประจำ จะทำให้มีความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ลดลง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการสงวนการรู้ (cognitive reserve theory) ที่ระบุว่า ประสบการณ์ชีวิตบางอย่างส่งผลให้การทำหน้าที่ของประสาทมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นทำให้ปัจเจกบุคคลมีการสงวนการรู้ซึ่งชะลอการเกิดอาการแสดงของภาวะสมองเสื่อม
การศึกษาชะลอการเกิดกลุ่มอาการโรคอัลไซเมอร์แต่ไม่เปลี่ยนระยะเวลาของโรค การเรียนภาษาที่สองแม้มีอายุมากแล้วดูเหมือนช่วยชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ กิจกรรมทางกายก็มีความสัมพันธ์กับโอกาสการเกิดโรคอัลไซเมอร์ลดลงเช่นกัน การออกกำลังกายสัมพันธ์กับอัตราภาวะสมองเสื่อมที่ลดลง และยังมีประสิทธิภาพในการลดความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์
การดูแลผู้ป่วย
เหตุที่โรคอัลไซเมอร์ยังไม่สามารถรักษาหายขาดได้ และผู้ป่วยไม่สามารถตอบสนองความต้องการของตัวเองมากขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ดูแลจึงมีความสำคัญในการรักษาและต้องช่วยจัดการดูแลอย่างระมัดระวังตลอดการดำเนินโรค ในผู้ป่วยระยะแรกและระยะปานกลาง การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยและวิถีชีวิตช่วยให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากขึ้นและลดภาระต่อผู้ดูแลได้
ตัวอย่างเช่นการปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตประจำวันง่ายขึ้น การล็อกบ้านและรั้ว การติดป้ายหรือฉลากบนเครื่องใช้ภายในบ้านเพื่อบอกหรือเตือนผู้ป่วย หรือการใช้อุปกรณ์ชีวิตประจำวันที่มีการดัดแปลง ถ้าผู้ป่วยเริ่มมีปัญหาการรับประทาน อาจเตรียมอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือปั่น ถ้าผู้ป่วยเริ่มมีอาการกลืนลำบากอาจต้องใช้สายให้อาหาร (feeding tube) ในกรณีดังกล่าวผู้ดูแลและสมาชิกในครอบครัวควรคำนึงถึงประสิทธิผลและจริยธรรมของการให้อาหารทางสายยางต่อเนื่อง
ไม่มีข้อบ่งชี้ให้ทำการยึดยั้งผู้ป่วยอยู่กับที่ในทุกระยะของโรค แต่มีบางสถานการณ์จำเป็นต้องใช้วิธีดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายหรือทำอันตรายต่อผู้ดูแล เมื่อโรคดำเนินไป อาจเกิดปัญหาทางการแพทย์อื่น ๆ ตามมา เช่น โรคในช่องปากและฟัน แผลกดทับ ขาดสารอาหาร ปัญหาสุขอนามัย หรือการติดเชื้อในทางเดินหายใจ ผิวหนังหรือตา
การดูแลอย่างระมัดระวังช่วยป้องกันภาวะดังกล่าว และหากเกิดปัญหาดังกล่าวตามมาแล้วต้องรับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญ ในระยะสุดท้ายของโรค การรักษาจะมุ่งเน้นการบรรเทาความรู้สึกไม่สะดวกสบายไปจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต โดยมักอาศัยความช่วยเหลือของฮอสพิส (hospice)
แหล่งที่มา แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์
ผลการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์เป็นโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ดูแลหรือสมาชิกในครอบครัวทำได้เพียงประคับประคองอาการไม่ให้แย่ลงโดยมีแนวทางดังนี้ พูดให้ช้าลง ใช้คำพูดสั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่กำกวม ออกเสียงชัดเจน พยายามเรียกชื่อผู้ป่วยบ่อย ๆ ร่วมกับการใช้ภาษากายหรือสิ่งของประกอบการพูดเพื่อให้เข้าใจได้ง่าย
หลีกเลี่ยงการตะโกน เล่าเรื่องในอดีตให้ผู้ป่วยฟัง เช่น เรื่องครอบครัว สถานที่ที่เคยไป สิ่งที่ผู้ป่วยชอบ หรืองานที่ผู้ป่วยทำ
กระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมดูแลตนเองให้ได้มากที่สุด เช่น การอาบน้ำ การเข้าห้องน้ำ รับประทานอาหารตามขีดความสามารถของผู้ป่วย
จัดกิจกรรมเพื่อชะลอความเสื่อมของสมอง เช่น ทายภาพสมาชิกในครอบครัว บวกเลขง่าย ๆ ชวนผู้ป่วยร้องเพลง
หากผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว ให้สื่อสารกับผู้ป่วยด้วยน้ำเสียงนุ่มนวล ไม่ข่มขู่ ไม่โต้เถียง พยายามเบี่ยงเบนให้ผู้ป่วยไปสนใจเรื่องอื่นแทน
หลีกเลี่ยงการใช้คำพูดหรือแสดงพฤติกรรมใด ๆ ที่ส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยโกรธ เสียใจ หรือเกิดความเครียด เช่น การต่อว่า การตะคอกผู้ป่วย และไม่ควรทำโทษผู้ป่วยโดยเด็ดขาด
สวมสร้อยหรือกำไลข้อมือที่ระบุข้อความว่าผู้ป่วยมีปัญหาด้านความจำ พร้อมเบอร์โทรศัพท์ของญาติหรือผู้ดูแลในกรณีที่ผู้ป่วยอาจพลัดหลงหรือออกจากบ้านไปโดยไม่มีใครรู้เพื่อให้ผู้พบเห็นสามารถติดต่อญาติได้ ในการรักษาผู้ป่วยอาจจำเป็นจะต้องใช้ยาร่วมด้วย ควรดูแลให้ผู้ป่วยรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ สังเกตและบันทึกพฤติกรรม อาการผิดปกติของผู้ป่วย และแจ้งให้แพทย์ทราบ หากพบว่ามีอาการผิดปกติมาก เช่น นอนไม่หลับ วิตกกังวล ซึมเศร้า หรือมีอาการทางจิตอื่น ๆ ควรรีบปรึกษาแพทย์ศูนย์การแพทย์ใกล้บ้าน
สรุป
ศูนย์ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ พัทยา ซีเนียร์โฮม บริการบ้านพักและสถานที่ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ รับดูแลผู้ป่วยความจำเสื่อม เพื่อยืดอายุของสมองผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมให้ได้ยาวนานที่สุดและส่งเสริมให้ผู้ป่วยสามารถดำเนินกิจวัตรประจำวันได้ด้วยตนเอง ภายในสถานดูแลผู้สูงอายุสะดวก ปลอดภัย กว้างขวาง เป็นธรรมชาติ ร่มรื่น ผ่อนคลายภายใต้มาตรฐานสถานดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์คุณภาพระดับสากล บริการด้วยใจและพร้อมใส่ใจผู้สูงอายุเปรียบเสมือนคนในครอบครัว ช่วยเสริมสร้างสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุ พร้อมทั้งมีทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยอัลไซแมอร์มืออาชีพคอยดูแลอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมงทั้งทีมพยาบาล และนักกายภาพบำบัด ในราคาที่สมเหตุสมผล ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม “คุณภาพชีวิตที่ดี”